วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บุญเดือนสาม

บุญข้าวจี่หรือบุญเดือนสาม

ข้าวจี่ เป็นอาหารชนิดหนึ่งของคนอีสาน อาจจะถือกำเนิดขึ้นโดยการที่ขณะที่นั่งฝิงไฟในหน้าหนาว และเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จใหม่ๆ โดยธรรมชาติของข้าวใหม่ก็มีกลิ่นหอมอยู่แล้ว ในขณะที่นั่งฝิงไฟอยู่นั้นก็เอาข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วมาปั้นโรยเกลือทาไข่ไก่ นำมาอังไฟหรือนำมาย่างไฟให้เกรียมก็ถือว่าสุกแล้วและรับประทานได ้เพราะโดยอุปนิสัยเนื้อแท้ของคนอิสานแล้วเป็นคนที่ขยันและช่างคิดอยู่แล้วและต่อ มาได้นำข้าวจี่นี้ไปถวายพระจนกระทั่งได้กลายมาเป็นประเพณีงานบุญข้าวจี่มาจนถึงทุกวันนี้ การทำบุญให้ทานมีข้าวจี่เป็นต้นเรียกว่า"บุญข้าวจี่"และนิยมทำกันในช่วงเดือนสามข้างแรม จนกระทั้ง มีคำผญาอีสานโบราณท่านได้แต่งผญาไว้ว่า... "เดือนสามค้อยเจ้าหัว คอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยหลั่งน้ำตา" เกี่ยวกับเรื่องประเพณีบุญเดือนสามนี้ นักปราชญ์อีสานโบราณได้แต่งผญาไว้ว่า...

ฮอดเดือนสามท้องฟ้าปลอดโปร่งสดใส
ไปทางใดเห็นแต่คนใจบุญซั่วแซวเต็มคุ้ม
เหลียวเห็นซุมสาวน้อยพากันปันข้าวจี่
เฮือนละห้าสี่ปั้นพอได้ออกใส่บุญ
พ่องกันบีบข้าวปุ้นตกแต่งอาหาร
มีเทิงหวานเทิงคาวหนุ่มสาวมาโฮมต้อม


สำหรับมูลเหตุของเรื่องนี้มีปรากฎในหนังสือธรรมบทว่าในสมัยหนึ่งนางปุณณทาสีได้ทำขนมแป้งจี่(ข้าวจี่) ที่ทำจากรำข้าวอย่างละเอียดถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ นางคิดว่าเมื่อพระพุทธองค์กับพระอานนท์รับแล้วคงไม่ฉันเพราะอาหารที่เราถวายไม่ใช่อาหารที่ดีหรือประณึตอะไรคงจะโยนให้หมู่กา และสุนัขกินเสียกลางทางพระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของนางและเข้าใจในเรื่องที่นางปุณณทาสีคิดจึงได้สั่งให้ พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปัฎฐากได้ปูลาดอาสนะลงแล้วประทับนั่งฉันสุดกำลังและในตอนท้าย หลังการทำภัตตกิจด้วยขนมแป้งจี่เรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมให้ฟังจนกระทั่งนางปุณณทาสีได้บรรลุโสดาบัน เป็นอริยอุบาสิกาเพราะมีข้าวจี่เป็นมูลเหตุ ด้วยความเชื่อแบบนี้ คนอีสานโบราณจึงได้จัดแต่งให้บุญข้าวจี่ทุกๆปี ไม่ได้ขาด ดั่งที่ปรากฎในผญาซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า...

ยามเมื่อถึงเดือนสามได้พากันเอาบุญข้าวจี่
ตั้งหากธรรมเนียมนี้มีมาแท้ก่อนกาล
ได้เฮ็ดกันทุกบ้านทุกถิ่นเอาบุญ
อย่าได้พากันไลเสียฮีตบุญคองเค้า


นอกจากนี้แล้วได้มีการเพิ่มการทำบุญอีกอย่างหนึ่งเข้ามาในเดือนนี้ นั้นก็คือบุญมาฆะบูชา เพราะว่าวันมาฆะบูชานั้นเป็นวันที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงวางรากฐานของพุทธศาสนา โดยพระองค์ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ท่ามกลางพระอรหันต์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ณ วฬุวันมหาวิหาร ในเวลาตะวันบ่ายคล้อย ซึ่งเป็นวันเพ็ญเดือนสามหรือที่ภาษาบาลีเรียกว่า"มาฆมาส" สำหรับโอวาทปาฏิโมกข์หรือหลักการของพุทธศาสนาที่สำคัญที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้นั้นมี ๓ ข้อ คือ...

๑.การไม่ทำบาปทั้งปวง
๒. การทำความดีให้ถึงพร้อม
๓. การทำจิตใจให้บริสุทธิผ่องแผ้ว
การทำบุญในวันมาฆะบูชานี้ เพื่อเป็นการบูชาให้ถูกต้องตามหลักการของคำว่า "มาฆะบูชา"ที่แปลว่า การบูชาพระรัตนตรัยในวันเพ็ญเดือนมาฆะหรือเดือนสามนอกเหนือจากการบูชาตามปกติของวันสำคัญทางพุทธศาสนาด้วยการสมทานศีล ฟังธรรม ถวายทาน และเวียนเทียนแล้ว ควรจะมีการปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนา หรือที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ดังที่ได้กล่าวแล้วด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชา ซึ่งเป็นการบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นยอดแห่งการบูชาทั้งปวง..

วันมาฆบูชา

มาฆบูชา
         มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่ 
           วั น"มาฆบูชา" เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ 
( ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔ )
ถือกันว่าเป็นวันสำคัญ เพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน
           วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
 
จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (สาเหตุของการชุมนุม)
๓. พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้อภิญญา ๖
๔. พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)

 โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน
๑. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)

๒. หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุจุดหมาย (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา) ต้องประกอบด้วย
     ก. ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
     ข. ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ (กุสลสฺสูปสมฺปทา) การไม่ทำความชั่วนั้น จะเรียกว่า เป็นคนดียังไม่ได้ การเป็นคนดี จะต้องทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ มิฉะนั้นแล้ว คนปัญญาอ่อน คนเป็นอัมพาต เป็นต้น ก็จะเป็นคนดีไปหมด
     ค. การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

๓. วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสามัคคี คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๘ เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๓ เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้.

     ก. ฝึกวาจา ระวังเสมอ มิให้กล่าวคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ (อนูปวาโท)
     ข. ฝึกกาย ระวังเสมอมิให้มีการฆ่า ทำลายชีวิต ตลอดจนถึงการเบียดเบียนทางกาย (อนูปฆาโต)
     ค. ละเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาต (ปาฎิโมกฺเข จ สํวโร)
     ง. รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร ตลอดจน รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ (มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ)
     จ. ฝึกตนอย่างจริงจัง ในที่ที่สงัดจากสิ่งรบกวน (ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ)
     ฉ. ภาวนาอยู่เสมอ คือ พัฒนาตนเองให้พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา การภาวนา หมายถึง การใช้ทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แก้ปัญหา หรือจัดการกับกิเลส (อธิจิตฺเต จ อาโยโค) เป็นการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ มิให้จิตใจเศร้าหมอง ให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

          จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้น พระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นอย่างบรรพชิต และเป็นอย่างสมณะ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการ และเป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)
 หมายเหตุ
สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะความดำริชอบ
สัมมาวาจาการพูดจาชอบ
สัมมากัมมันตะการทำงานชอบ
สัมมาอาชีวะการเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะความพากเพียรชอบ
สัมมาสติความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิความตั้งใจมั่นชอบ
  
อภิญญา ๖
อภิญญา คือความรู้อันยอดยิ่งมี ๖ ประการได้แก่
๑.แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ)
๒.หูทิพย์ (ทิพยโสต)
๓.รู้จักกำหนดใจผู้อื่น (เจโตปริยญาณ)
๔.ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)
๕.ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ)
๖.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป-คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)
 
สาเหตุของการชุมนุมคงเนื่องมาจากภิกษุเหล่านั้นล้วนเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนและในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
เป็นวันที่ทางศาสนาพราณ์ได้ประกอบพิธีศิวาราตรี คือ การลอยบาปในแม่น้ำคงคา และประกอบพิธีสักการบูชาพระเป็นเจ้าในเทวสถาน เมื่อถึงวันนั้น พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าซึ่งเคยประกอบพิธีดังกล่าวจึงต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์

วันวาเลนไทน์

วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโนซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด
นรัชสมัยของ จักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอดุร้ายและทรงนิยมการทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในกองทัพเนื่องจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโอง การสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง และขณะนั้น มีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนา ดีนี้เองจึงทำให้วาเลนไทน์ถูกจับและระ หว่างนี้ก็ยังคงส่งคำอวยพรวาเลนไทน์ ของเขาเองขณะที่เขาเป็นนักโทษ เป็นความเชื่อว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิง สาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะสิ้นชีวิตโดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับ สุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินัส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเบื้องหลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะเป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคงแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความกล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจ เลยว่าในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้


วันนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine's Day) หรือที่เป็นที่รู้จักว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันประเพณีที่คู่รักบอกให้กันและกันทราบเกี่ยวกับความรักของพวกเขา โดยการส่งการ์ดวาเลนไทน์ ซึ่งโดยมากจะไม่ระบุชื่อ วันนี้เริ่มเกี่ยวข้องกับความรักแบบชู้สาวในช่วงยุค High Middle Ages เรื่องของ วันวาเลนไทน์ นี้ มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ณ กรุงโรม หรืออาณาจักรโรมัน ในยุคของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) โดยที่จักรพรรดิพระองค์นี้ มีนิสัยชอบกดขี่ข่มเหงผู้อื่น เขาได้สั่งให้ชาวโรมันทุกคน สักการะนับถือพระเจ้า 12 องค์ โดยผู้ที่ขัดขืนคำสั่งจะถูกทำโทษ รวมทั้งห้ามยุ่งเกี่ยวกับพวกคริสเตียนด้วย แต่นักบุณวาเลนตินุส (Valentinus) - valentine มีความเลื่อมใส ศรัทธาต่อพระคริสต์มาก เขาได้กล่าวไว้ว่า แม้กระทั่งความตายก็ไม่สามารถ เปลี่ยนความคิดของเขาได้ เขาจึงได้ถูกขังคุก
ช่วงอาทิตย์สุดท้ายในชีวิตของเขานั้นได้ มีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้น ขณะที่เขาถูกคุมขังอยู่นั้น ผู้คุมขังได้ขอให้วาเลนตินุส สอนลูกสาวเขาซึ่งตาบอดด้วย จูเลียเป็นคนสวยแต่น่าเสียดายที่เธอตาบอดตั้งแต่แรกเกิด วาเลนตินุสได้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ต่าง ๆ สอนเลข และเล่าเรื่องพระเจ้าให้เธอฟัง จูเลีย สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ได้ โดยคำบอกเล่าของ วาเลนตินุส เธอเชื่อใจเขาและเธอมีความสุขมากเมื่ออยู่กับเขา
วันหนึ่งจูเลียถามวาเลนตินุสว่า “ถ้าเราอธิษฐาน พระผู้เป็นเจ้าจะได้ยินเราไหม” เขาตอบ “พระองค์เจ้า จะได้ยินเราแน่นอน ท่านได้ยินเราทุกคน” จูเลียกล่าว “ท่านทราบหรือไม่ว่า ข้าอธิษฐานขออะไรทุก ๆ เช้า ทุก ๆ เย็น...ข้าหวังว่า ข้าจะได้มองเห็นโลก เห็น ทุก ๆ อย่างที่ท่านเล่าให้ข้าฟัง” วาเลนตินุสจึงบอก “พระเจ้ามอบแต่สิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ทุกคน เพียงแค่เรามีความเชื่อมั่นในพระองค์ท่าน เท่านั้นเอง”
จูเลีย ผู้ซึ่งมีความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าจึงได้คุกเข่า กุมมืออธิษฐานพร้อมกับวาเลนตินุส และในขณะนั้นเอง ก็ได้มีแสงสว่างลอดเข้ามาในคุก และสิ่งมหัศจรรย์ก็ได้เกิดขึ้น จูเลียค่อย ๆ ลืมตา แล้วเธอก็มองเห็น เขาและเธอจึงกล่าวขอบคุณต่อพระเจ้า และเรื่องมหัศจรรย์เรื่องนี้ ได้แพร่หลายไปทั่วราชอาณาจักร
ในคืนก่อนที่วาเลนตินุสจะสิ้นชีวิต โดยการถูกตัดศีรษะเขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า - From Your Valentine - เขาสิ้นชีพในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้น ศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินุส แต่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดร์และมิตรภาพอันสวยงาม